วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

คลิปมือโปร












เพลงใจนักเลง

ใจนักเลง

Artist : พงษ์พัฒน์

Intro:F/Dm/Gm/C

F Dm Gm C Am Dm
เมื่อเธอเลือกอยู่กับเขา ตัวฉันคุกเข่าสั่นไหว ใจนักเลงยิ่งปวดร้าวเจียนตาย
Gm c
ปล่อยเธอไปตามใจเธอต้องการ

F Dm Gm C
*จะยอมให้สั่งและตัดสิน ว่าฉันต้องถูกถอดทิ้ง
Am Dm Gm C
เรานั้นมันไม่อาจฝืนความจริง ได้แต่ยิ้มอวยพรให้ไปดี
Bb C F Am Dm Bb C
**ให้ เธอ ได้ กับเขาและจงโชคดี อย่ามีอะไรให้เสียใจ
Bb C F Am Dm Bb C
ส่วน ตัว ฉัน จะลืมว่าเคยร้องไห้ ลืมว่าเคยต้องเป็น ใคร
(F)
ที่เธอไม่เอา

SoLo: F / Dm / Gm / C (2times)
Bb / Am / Dm / Gm / C

(*,**)

Instru: F / Dm / Gm / C (F)

Instru: F / Dm / Gm / C (F)


E--8--8--8---5--5-------------------------------------------------------------
B------------------------8--8------8--6-----------8/10--6-------------------
G-----------------------------------------------------------------------7~~~~
D---------------------------------------------------------------------------------
A---------------------------------------------------------------------------------
E---------------------------------------------------------------------------------

E--6--6--6----5---5--------------------------------------------------------------
B----------------------------8--8--8---6--8--------------------------------------
G---------------------------------------------------5--7-----------5~~~~-----
D------------------------------------------------------------------------------------
A-----------------------------------------------------------------------------------
E-----------------------------------------------------------------------------------

E---------------------5--------------------------------------------------------------------------5----------
B--------6---8-8---------8^---8----6-5---------6--6-------6--------6--6-----8^--8----------
G---5------------------------------------------7-----------7--------7--------------------------------7---5
D----------------------------------------------------------------------------------------------- A----------------------------------------------------------------------------------------------- E-----------------------------------------------------------------------------------------------

E---------------------------------------------------------------------------6-6-------6------6-6---8^-8
B----------------------------5-------5-6------5-6-8/10---8--6--5----------------------------- G-------------5-7----5-7-----5-7-------7------------------------------------------------------
D--8----7-8------8-----------------------------------------------------7---------7------7------ A----------------------------------------------------------------------------------------------- E-----------------------------------------------------------------------------------------------

E--12\~~~~--------------------------
B------------------------------------------
G------------------------------------------
D-----------------------------------------
A------------------------------------------
E------------------------------------------

http://www.musicatm.com/view.php?No=1228&Title=&Artist=

การหัดเล่น Tab Guitar



การเล่นแทปกีต้าร์


Tab กีตาร์ ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับผู้ที่อ่าน Note เพลงไม่เป็น ดังนั้น การอ่านTab ก็ไม่ใช่เรื่องยากแน่ๆ จริงไหมครับ เพราะถ้าอ่านTab ไม่ได้ ก็ไม่รู้จะทำยังไงให้เค้าเข้าใจแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูวิธีการอ่าน Tab แบบเบื้องต้นกัน
รูปข้างล่างนี้แทนสายกีตาร์ ซึ่งเลข 1 ก็คือสายเส้นเล็กสุด ส่วนเลข 6 ก็เป็นสายเส้นใหญ่สุดตามลำดับ เหมือนเราจับกีต้าร์อยู่ แล้วมองไปที่คอกีต้าร์ จะเห็นว่าสาย 1 จะอยู่ด้านบน เข้าใจไหมครับ


1----------------------------------

2----------------------------------

3----------------------------------

4----------------------------------

5----------------------------------

6----------------------------------



สิ่งที่คุณจะพบอีกอย่างในการอ่าน Tab ก็คือ ตัวเลขมากมายที่ปรากฏอยู่บนสายแต่ละเส้น ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวจะแทนการใช้นิ้วมือซ้ายกดสายกีตาร์ที่ช่องนั้นๆ บนคอกีตาร์ เช่น

เลข 0 = ไม่มีการกด , เลข 1 = กดช่องที่ 1 , เลข 2 = กดช่องที่ 2 เป็นต้น
ลองดูตัวอย่าง กันเลยครับ


1----------------------------------

2---------------------------0-1---

3-------------------0-2-----------

4------------0-2-3----------------

5------3--------------------------

6---------------------------------


ตัวอย่างนี้ก็ง่ายๆ ครับ ใช้นิ้วมือซ้ายกดตามช่อง (ตัวเลข) ที่ระบุไว้ที่ละเส้น แล้วก็ใช้นิ้วมือขวา หรือปิ๊ก ในการดีดสายกีตาร์ตามเส้นที่เรากด ซึ่งเสียงที่ได้ออกมาก็จะเป็น "โด เร มี ฟา ..." จึงจะถูกต้อง

ส่วนใหญ่จะมีคำถามว่า เราจะรู้ได้ไงว่าจะต้องใช้นิ้วมือซ้ายนิ้วใหนในการกดสายกีตาร์ คำตอบก็คือ ไม่มีการกำหนดแน่ชัดครับว่าต้องเป็นนิ้วใหน แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนครับ ถ้าฝึกบ่อยๆ ก็จะรู้เองครับว่าควรจะใช้นิ้วใหนในการกด

การเล่น Tab แต่ละเพลงให้ชำนาญนั้นอยู่ที่การฝึกฝน เพื่อนๆ อาจเล่น Tab เพลงหนึ่งได้คล่อง แต่อาจเล่นอีกเพลงหนึ่งไม่ได้เลย อันนี้ไม่แปลกครับ เพราะเราต้องลองเอา Tab ที่เราได้มา มาลองแกะแล้วหัดเล่นก่อน


ตัวอย่างแทป



วิธีการหัดเล่นกีต้าร์

การหัดเล่นกีต้าร์


ในการหัดเล่นกีต้าร์นั้นเราจะต้องรู้พื้นฐานในการจับคอร์ดเสียก่อน

ซึ่งจะจับคอร์ดได้นั้นตัองดูตามตารางคอร์ดกีต้าร์ดังนี้


บางคนอาจจะยังดูไม่เป็นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆ แต่มัน

ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่หยิบกีต้าร์ขึ้นมาแล้วใช้นิ้วกด

ไปตามจุดที่อยู่บนเส้นกีต้าร์ตามรูปภาพ พอกดได้แล้วก็หมั่น

ฝึกกดอยู่บ่อยๆเพื่อที่จะเกิดการเคยชินจนสาสารถเล่นได้ในที่สุด


การหัดไล่ scale กีต้าร์

ในการเล่นกีต้าร์นั้นนอกจากจะหัดจับคอร์ดแล้วนั้นที่สำคัญก็คือ

การหัดไล่สเกลล์ซึ่งการไล่สเกลล์นั้นเป็นพื้นฐานในการลีดกีต้าร์

ที่นักลีดกีต้าร์ทั้งหลายทำกันอยู่ก็มาจากการฝึกหัดไล่สเกลล์กัน

ทั้งนั้น การไล่สเกลล์นั้นเป็นการไล่นิ้วลงไปบนตัวโน๊ตของกีต้าร์

ซึ่งจะไล่แบบไหนนั้นก็แล้วแต่ผู้เล่นจะถนัดนั่นเองดังตัวอย่างตารางสเกลล์




เสียงต้วโน๊ต

เสียงของตัวโน๊ตที่ใช้ในการเล่นดนตรี

A แทนตัวโน๊ตในภาษาไทยคือ ตัวลา
B แทนตัวโน๊ตในภาษาไทยคือ ตัวที
C แทนตัวโน๊ตในภาษาไทยคือ ตัวโด
D แทนตัวโน๊ตในภาษาไทยคือ ตัวเร
E แทนตัวโน๊ตในภาษาไทยคือ ตัวมี
F แทนตัวโน๊ตในภาษาไทยคือ ตัวฟา
G แทนตัวโน๊ตในภาษาไทยคือ ตัวซอล

ส่วนในการเล่นกีต้าร์นั้นตัวโน๊ตที่เล่นมักจะเรียกกันว่า คอร์ดกีต้าร์
ซึ่งคอร์ดกีต้าร์นี้ก็มีหลายคอร์ดด้วยกัน เช่น

คอร์ด A , Am
คอร์ด B , Bm
คอร์ด C , Cm , C# , C#m
คอร์ด D , Dm
คอร์ด E , Em
คอร์ด F , Fm , F# , F#m
คอร์ด G , Gm , G# , G#m

ซึ่งที่จริงแล้วคอร์ดกีต้าร์มีตั้งมากมายกว่านี้ แต่ในนี้ยกมาแค่เพียงคอร์ดหลักๆเท่านั้นเพื่อที่จะได้ไม่สับสน

ตัวอย่างกีต้าร์ไฟฟ้า

กีต้าร์ไฟฟ้า

















ตัวอย่างกีต้าร์โปร่ง













































ประเภทของกีต้าร์

ประเภทของกีต้าร์
กีต้าร์มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
1. กีต้าร์โปร่ง
2. กีต้าร์ไฟฟ้า
ซึ่งกีต้าร์ทั้งสองชนิดนี้ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันคือ
กีต้าร์โปร่ง จะมีลักษณะที่เป็นไม้ มีรูปร่างโปร่ง และมีขนาดที่ใหญ่กว่ากีต้าร์ไฟฟ้า ซึ่งเสียงของกีต้าร์โปร่ง
จะมีเสียงที่นุ่มกว่า และสามารถที่จะพกพาไปเล่นที่ไหนก็ได้โดยที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์ต่อเข้ากับลำโพงใดๆ
กีต้าร์ไฟฟ้า จะมีลักษณะที่ผอมเพียวกว่ากีต้าร์โปร่งมาก ซึ่งกีต้าร์ไฟฟ้าจะมีเสียงที่เปลี่ยนไปตามเทคนิค
และอุปกรณ์ต่างๆที่ต่อเข้ากับตัวกีต้าร์เอง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เราเรียกว่า effect กีต้าร์ และกีต้าร์ไฟฟ้าไม่
สามารถเล่นได้ถ้าไม่มีลำโพงแอม

ประวัติของกีต้าร์

ประวัติความเป็นมาของกีตาร์
กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้นผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมากเนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังปรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839 หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก
หลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia, Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี 3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์อย่างจริงจัง ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยน่ะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเคสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย
สำหรับการร้องไปพร้อมกับกีตาร์ได้เริ่มมีขึ้นเมื่อสามารถปรับให้ระดับเสียงของกีตาร์นั้นเข้ากับเสียงร้องได้ ซึ่งผมเข้าใจว่าในอดีตกีตาร์มีไว้บรรเลงมากกว่าแต่เมื่อสามารถผสมผสานเสียงของกีตาร์กับเสียงร้องได้การร้องคลอไปกับกีตาร์จึงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น นักร้องนักกีตาร์(คือทั้งเล่นทั้งร้อง) น่าจะมาจากนักร้องในยุคกลางซึ่งเป็นชนชั้นสูงได้ปลีกตัวไปทำงานในแบบที่เป็นอิสระและอยากจะทำจึงมีการผสมกันกับรูปแบบของดนตรีพื้นบ้านมากขึ้น ซึ่งงานดนตรีจึงแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. เป็นงานประพันธ์เพื่อจรรโลงโลกหรือมีความจริงจังในทางดนตรีเพื่อการแสดงเป็นส่วนใหญ่ ก็คือเพลงคลาสสิกนั่นเอง
2. งานที่สร้างจากคนพื้นบ้านจากการถ่ายทอดจากพ่อสู่ลูก ลูกสู่หลาน เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพความเป็นอยู่ แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิต ใช้ในการผ่อนคลายจากการงานความทุกข ์ความยากจน เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ อันได้มาจากประสบการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวขณะนั้นจึงมีความเป็นธรรมชาติอยู่มากและโดยที่ทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวได้มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลาจากอดีตถึงปัจจุบันจนมีการซึมซับเข้าไปยังเนื้อเพลงและทำนองเพลงทำให้เกิดรูปแบบของดนตรีในแบบใหม่ ๆมากขึ้นเรื่อย ๆ
นอเมริกา ผู้ที่เข้าไปอาศัยได้นำเอาดนตรีและการเต้นรำของพวกเขาเข้ามาด้วยเช่นพวกทหาร นักสำรวจ พวกเคาบอยหรือคนงานเหมืองทำให้มีการผสมผสานกันในรูปแบบของดนตรีและที่สำคัญที่สุดคือพวก อเมริกัน นิโกร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในฐานะทาสซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดเพลงบลูส์นั่นเองซึ่งส่วนใหญ่แสดงถึงความยากลำบาก ความยากจนถ่ายทอดมาในบทเพลงสไตล์ของพวกเขาเพื่อได้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยยากและเล่นง่าย ๆ ด้วยกีตาร์กับเม้าท์ออร์แกนเป็นต้น ซึ่งเพลงบลูส์นั่นเองที่เป็นพื้นฐานของดนตรีอีกหลาย ๆ ประเภทไม่ว่าจะเป็นเพลงร็อคหรือแจ๊สในปัจจุบัน จนเดี๋ยวนี้กีตาร์มีความสำคัญกับดนตรีแทบทุกชนิด
แม้ว่ากีตาร์จะถูกสร้างมาหลายรูปแบบแต่แบบที่ถือว่าดีที่สุดคงเป็นแบบ สแปนนิช 6 สาย ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่ดีอย่างมากทั้งด้านการประดิษฐ์และด้านเทคนิค ซึ่งสามารถใช้เล่นในงานแสดงคอนเสิร์ท(หมายถึงดนตรีคลาสสิก) หรือเล่นเพลงทั่ว ๆ ไปทำให้รูปทรงกีตาร์แบบนี้เป็นที่นิยมจนปัจจุบัน เริ่มจากในศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนจากสายที่เป็นสายคู่มาเป็นสายเดี่ยวและเปลี่ยนจาก 5 สายเป็น 6 สาย ช่างทำกีตาร์ในยุคศตวรรษที่ 19 ได้ขยายขนาดของ body เพิ่มส่วนโค้งของสะโพกลดส่วนผิวหน้าที่นูนออกมา และเปลี่ยนแปลงโครงยึดภายใน ลูกบิดไม้แบบเก่าถูกเปลี่ยนเป็นแบบใหม่ ในยุคเดียวกันนี้ Fernando Sor ซึ่งได้กล่าวมาในข้างต้นแล้วเป็นผูู้ที่พัฒนาและทำให้เครื่องดนตรีนี้เป็นที่ยอมรับและใช้ในการแสดงได้จนกระทั่งมาถึงยุคของ Andres Segovia ได้คิดดัดแปลงให้สามารถใช้กับไฟฟ้าได้ ซึ่งเป็นความพัฒนาอีกระดับของเพลงป๊อปในอเมริกาในช่วง 1930 กีตาร์ไฟฟ้าต้นแบบช่วงนั้นเป็นแบบทรงตันและหลักการนำเสียงจากกีตาร์ไปผสมกับกระแสไฟฟ้าแล้วขยายเสียงออกมานั้นทำให้นักดนตรีและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันซึ่งชื่อเขาพวกเรารู้จักกันดีในนามของโมเดลหนึ่งของกิ๊บสันนั่นก็คือ Les Paul ได้พัฒนาจากต้นแบบดังกล่าว มาเป็นแบบ solid body กีตาร์ หรือกีตาร์ไฟฟ้าที่เราเห็นในปัจจุบันนั่นแหละครับซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากของดนตรียุคนั้นและทำให้กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปี 1940
หลังจากนั้นในต้นปี 1940 นักประดิษฐ์ชาวแคลิฟอเนียอีกคนซึ่งเราก็รู้จักชื่อเขาในนามของยี่ห้อกีตาร์ที่สุดยอดอีกยี่ห้อหนึ่งนั่นก็คือ Leo Fender เขาได้ประดิษฐ์กีตาร์และเครื่องขยายเสียงในร้านซ่อมวิทยุของเขา เขาได้สร้างเครื่องขยายเสียงแต่ขณะนั้นไม่มีปุ่มคอนโทรลต่าง ๆ เช่นปัจจุบัน และใช้กับกีตาร์ของเขาซึ่งมีปุ่มควบคุมเสียงดังเบาและทุ้มแหลมซึ่งเป็นต้นแบบกีตาร์ไฟฟ้ายุคใหม่ เขาไม่ได้หยุดแค่นั้นด้วยเทคโนโลยีขณะนั้นเขารู้ว่าเขาน่าจะดัดแปลงกีตาร์โปร่งให้สามารถใช้กับเครื่องขยายเสียงได้และความพยายามเขาก็สำเร็จจนได้ในปี 1948 และได้กีตาร์ที่ชื่อว่า Telecaster (คงคุ้นหูกันนะครับ) ซึ่งชื่อเดิมที่เขาใช้เรียกคือ Broadcaster แต่คำว่า tele เป็นที่ติดปากกันมากกว่าและถือว่าเป็นกีตาร์ไฟฟ้าทรงตันในรูปทรงสแปนนิสรุ่นแรกที่ซื้อขายกันในเชิงพาณิชย์และได้รับความนิยมอย่างมากจนกระทั่งปัจจุบัน
ปัจจุบันสำหรับกีตาร์มีพร้อมแล้วทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นรูปร่างรูปทรงประเภทต่าง ๆ ให้เลือกเล่นตามใจชอบ สไตล์เพลงหลากหลายสไตล์ โรงเรียนสอน ตำราต่าง ๆ ให้ศึกษามากมายแต่แนนอนการพัฒนาย่อมไม่มีวันหยุดไม่แน่ในอนาคตคุณอาจเป็นคนหนึ่งที่สร้างอะไรใหม่ ๆ ให้กีตาร์จนโลกต้องบันทึกไว้ก็ได้